วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ความเป็นมาของเพลงรำวงมาตราฐาน

            รำวงมาตรฐาน ประกอบด้วยเพลงทั้งหมด 10 เพลง กรมศิลปากรแต่งเนื้อร้องจำนวน ๔ เพลง คือ เพลงงามแสงเดือน เพลงชาวไทย เพลงรำซิมารำ เพลงคืนเดือนหงาย ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม แต่งเนื้อร้องเพิ่มอีก ๖ เพลง คือ เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ เพลงดอกไม้ของชาติ เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า เพลงหญิงไทยใจงาม เพลงบูชานักรบ เพลงยอดชายใจหาญ ส่วนทำนองเพลงทั้ง ๑๐ เพลง กรมศิลปากร และกรมประชาสัมพันธ์เป็นผู้แต่ง จากการสัมภาษณ์นางสุวรรณี ชลานุเคราะห์ ศิลปินแห่งชาติ สาชาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์ไทย) ปีพุทธศักราช ๒๕๓๓ อธิบายว่า ท่ารำเพลงรำวงมาตรฐานประดิษฐ์ท่ารำโดย นางลมุล ยมะคุปต์ นางมัลลี คงประภัศร์ และนางศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลป ส่วนผู้คิดประดิษฐ์จังหวะเท้าของเพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ คือนางจิตรา ทองแถม ณ อยุธยา อาจารย์ใหญ่โรงเรียนสังคีตศิลป ปัจจุบันคือ วิทยาลัยนาฏศิลป ปีพ.ศ. ๒๔๘๕ – ๒๔๘๖ เมื่อปรับปรุงแบบแผนการเล่นรำโทนให้มีมาตรฐาน และมีความเหมาะสม จึงมีการเปลี่ยนแปลงชื่อจากรำโทนเป็น “รำวงมาตรฐาน” อันมีลักษณะการแสดงที่เป็นการรำร่วมกันระหว่างหญิง-ชายเป็นคู่ ๆ เคลื่อนย้ายเวียนไปเป็นวงกลม มีเพลงร้องที่แต่งทำนองขึ้นใหม่ มีการใช้ทั้งวงปี่พาทย์บรรเลงเพลงประกอบ และบางเพลงก็ใช้วงดนตรีสากลบรรเลงเพลงประกอบ ซึ่งเพลงร้องที่แต่งขึ้นใหม่ทั้ง ๑๐เพลง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น