จอมพล ป. พิบูลสงคราม
วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558
ความหมายของรำวงมาตราฐาน
รำวงมาตรฐาน เป็นการแสดงที่มีวิวัฒนาการมาจาก รำโทน
เป็นการรำและร้องของชาวบ้าน ซึ่งจะมีผู้รำทั้งชาย และหญิง รำกันเป็นคู่ ๆ
รอบ ครกตำข้าวที่วางคว่ำไว้ หรือไม่ก็รำกันเป็นวงกลม
โดยมีโทนเป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ ลักษณะการรำ
และร้องเป็นไปตามความถนัด ไม่มีแบบแผนกำหนดไว้ คงเป็นการรำ และร้องง่าย ๆ
มุ่งเน้นที่ความสนุกสนานรื่นเริงเป็นสำคัญ เช่น เพลงช่อมาลี เพลงยวนยาเหล
เพลงหล่อจิงนะดารา เพลงตามองตา เพลงใกล้เข้าไปอีกนิด ฯลฯ
ด้วยเหตุที่การรำชนิดนี้มีโทนเป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ
จึงเรียกการแสดงชุดนี้ว่า รำโทน ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๗ ในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม
เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญของการละเล่นรื่นเริงประจำชาติ
และเห็นว่าคนไทยนิยมเล่นรำโทนกันอย่างแพร่หลาย
ถ้าปรับปรุงการเล่นรำโทนให้เป็นระเบียบทั้งเพลงร้องลีลาท่ารำ และการแต่งกาย
จำทำให้การเล่นรำโทนเป็นที่น่านิยมมากยิ่งขึ้น
จึงได้มอบหมายให้กรมศิลปากรปรับปรุงรำโทนเสียใหม่ให้เป็นมาตรฐาน
มีการแต่งเนื้อร้อง
ทำนองเพลงและนำท่ารำจากแม่บทมากำหนดเป็นท่ารำเฉพาะแต่ละเพลงอย่างเป็นแบบแผน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น